คำวิเศษณ์

   คำวิเศษณ์ เป็นคำที่ใช้ประกอบคำนาม สรรพนาม กริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นคนอ้วนต้องเดินช้า คนผอมเดินเร็ว ( ประกอบคำนาม " คน " )เขาทั้งหมด เป็นเครือญาติกัน ( ประกอบคำสรรพนาม " เขา " )เขาเป็นคนเดินเร็ว ( ประกอบคำกริยา " เดิน " )
   ชนิดของคำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์แบ่งเป็น 10 ชนิด
1. ลักษณวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี ขนาด สัณฐาน กลิ่น รส บอกความรู้สึก เช่น ดี ชั่ว ใหญ่ เล็ก ขาว กลม หวาน ร้อน เย็นน้ำร้อนอยู่ในกระติกเขียวจานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็กผมไม่ชอบกินขนมหวาน
2. กาลวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต โบราณ อนาคตคนโบราณเป็นคนมีความคิดดีๆฉันไปก่อน เขาไปหลัง
3. สถานวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา
เธออยู่ใกล้ ฉันอยู่ไกลรถเธอแล่นทางซ้าย ส่วนรถฉันแล่นทางขวา
คำวิเศษณ์นี้ถ้ามีคำนามหรือสรรพนามอยู่ข้างหลัง คำดังกล่าวนี้จะกลายเป็นบุพบทไปเขานั่งใกล้ฉัน เขายืนบนบันได เขานั่งใต้ต้นไม้
4.ประมาณวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่มาก น้อย ที่หนึ่ง ที่สอง หลาย ต่าง บรรดา บ้าง กัน คนละ เขามีสุนัขหนึ่งตัวพ่อมีสวนมากบรรดาคนที่มา ล้วนแต่กินจุทั้งสิ้น
5. นิยมวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี่ นั้น โน้น ทั้งนี้ ทั้งนั้น เอง เฉพาะ เทียว ดอก แน่นอน จริง วิชาเฉพาะอย่างเป็นวิชาชีพคนอย่างนี้ก็มีด้วยหรือฉันจะมาหาเธอแน่ๆ
6. อนิยมวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์ที่ประกอบบอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่นๆ กี่ ไหน อะไร เธออ่านหนังสืออะไรก็ได้ เธอพูดอย่างไร คนอื่นๆก็เชื่อเธอเธอจะนั่งเก้าอี้ตัวไหนก็ได้
7. ปฤจฉาวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์บอกความถาม หรือ ความสงสัย เช่น ใด ไร ไหน อะไร ทำไมอย่างไร
เธอจะทำอย่างไรสิ่งใดอยู่บนชั้นเธอจะไปไหน
8. ประติชญาวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ขา คะ จ๋า โว้ย
หนูขา หนูจะไปไหนคะ คุณครูครับ ผมส่งงานครับปลิวโว้ย เพื่อนคอยแล้วโว้ย
9. ประติเษธวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิใช่ มิได้ หาไม่ หามิได้ ใช่เขาไม่ทำก็ไม่เป็นไร เพราะเขามิใช่ลูกฉันร่างกายนี้หาใช่สัตว์ ใช่บุคคล ใช่ตัวตนเราเขา
ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไปไม่ได้
10. ประพันธวิเศษณ์ เป็นคำวิเศษณ์ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ชนิดที่ ที่ว่า เพื่อว่า ให้เด็กคนนี้เป็นเด็กฉลาดอย่างที่ไม่ค่อยได้พบ
เขาพูดให้ฉันได้อายเขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้มีเงินมากที่ ซึ่ง อัน เป็นคำประพันธวิเศษณ์ต่างกับคำประพันธสรรพนาม ดังนี้ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธสรรพนาม จะใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า และวางติดกับนามหรือสรรพนาม ที่จะแทนและเป็นประธานของคำกริยาที่ตามมาข้างหลัง เช่น
คนที่อยู่นั้นเป็นครูฉันต้นไม้ซึ่งอยู่หน้าบ้านควรตัดทิ้งส่วน ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประพันธวิเศษณ์ จะใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ จะเรียงหลังคำอื่นที่ไม่ใช่เป็นคำนามหรือคำสรรพนามดังตัวอย่าง
     หน้าที่ของคำวิเศษณ์
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ใช้เป็นส่วนขยายจะขยายนาม สรรพนาม กริยา หรือ คำวิเศษณ์ และยังทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยคได้แก่
1. ทำหน้าที่ขยายนามคนหนุ่มย่อมใจร้อนเป็นธรรมดาบ้านใหญ่หลังนั้นเป็นของผม
2. ทำหน้าที่ขยายสรรพนามใครบ้างจะไปทำบุญฉันเองเป็นคนเข้ามาในห้องน้ำ
3. ทำหน้าที่ขยายคำกริยาเขาพูดมาก กินมาก แต่ทำน้อยเมื่อคืนนี้ฝนตกหนัก
4. ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ฝนตกหนักมากเธอวิ่งเร็วจริงๆ เธอจึงชนะ