ภาษาพูด ภาษาเขียน
การใช้ “ภาษาพูด” กับ “ภาษาเขียน” นับเป็นปัญหาหนึ่งของการใช้ภาษาไทยนะคะ ผู้ใช้ภาษาบางคนนำภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียน บางคนนำภาษาเขียนมาใช้ในภาษาพูด เมื่อต้องการสื่อความหมายด้วยการเขียนก็ควรจะใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเอกภาพในด้านการใช้ภาษาเขียน ถ้าหากใครนึกอยากจะเขียนอะไรก็เขียนลงไปตามอำเภอใจ พจนานุกรมฉบับนั้นก็คงไม่มีความหมายอะไรนะคะ การที่ประเทศไทยมีพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็เพื่อต้องการให้ภาษาเขียน มีมาตรฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเรามีวัฒนธรรมทางภาษาไม่แพ้นานาอารยประเทศรายการ “ภาษาไทยใช้ให้ถูก” ในวันนี้ขอนำเรื่องของ “ภาษาพูด” กับ “ภาษาเขียน”มาให้ท่านผู้ฟังได้พังกันค่ะภาษาพูด คือ ภาษาที่ผู้ใช้ภาษาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการพูดนั่นเอง การพูดมีหลายระดับ ภาษาพูดมีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การใช้ภาษาพูดควรคำนึงถึงความเหมาะสมของฐานะบุคคลและกาลเทศะด้วยค่ะภาษาเขียน คือ ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกไว้เป็นหลักฐานประกอบด้วยสาระที่นำมาอ้างอิงได้ ใช้เป็นภาษามาตรฐาน การใช้ภาษาเขียนควรเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ไม่มีคำที่เป็นกันเองเหมือนภาษาพูด
ในปัจจุบันเราจะพบว่า มีผู้นำภาษาพูดมาใช้ปนกับภาษาเขียน “ภาษาพูด” ที่ผู้ใช้ภาษา
ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ใน “ภาษาเขียน” มีหลายลักษณะ ได้แก่
ใช้ภาษาเขียนตามที่ออกเสียงจริง เช่น
คำที่ออกเสียง “พ้ม” มักใช้รูปเขียน “พ้ม” รูปเขียนที่ถูกต้องคือ ผม
” “เค้า” ” “เค้า” ” เขา
” “ชั้น” ” “ชั้น” ” ฉัน
” “หยั่งงี้” ” “หยั่งงี้” ” อย่างนี้
” “ยังไง” ” “ยังไง” ” อย่างไร
” “ก้อ ” “ก้อ” ” ก็
คำว่า “ก็” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง แล้ว จึงย่อม เช่น ทำดีก็ได้ดี หรืออาจใช้นำหน้าคำเพื่อแสดงความหมายดังนี้ แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ เน้นความให้มี นน.เท่ากัน เช่น คำว่า “ก็ดี” บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตรของตนแสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจ เช่น คำว่า “ก็ได้” ท่านจะไปก็ได้ส่วนคำว่า “ก้อ” ที่สะกดด้วย ก ไก่ สระออ ไม้โท ก้อ เป็นคำวิเศษณ์แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ นอกจากนี้ยังมีสำนวนไทยที่ว่า “ก้อร่อ ก้อติก” ใช้เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึงแสดงอาการเจ้าชู้ ทำเป็นเจ้าชู้ “ก้อ” อีกความหมายหนึ่งใช้เป็นคำนาม หมายถึง ชนชาวเขาพวกหนึ่งในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทางภาคเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ บางคนจะเรียกชาวเขาพวกนั้นว่าอีก้อเมื่อท่านผู้ฟังทราบความหมายของคำว่า ก็ ที่สะกดด้วย ก ไม้ไต่คู้ กับ ก้อ ที่สะกดด้วย ก ไก่ สะออ ไม้โท ควรจะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องนะคะคำที่ออกเสียง มั้ย รูปเขียนที่ถูกต้องคือ ไหม (ไม้มลาย หอหีบ มอม้า)คำที่ออกเสียง มั้ย เป็นคำแสดงคำถามมาจากหรือไม่ ถ้าเราจะถามเพื่อนเราว่า“ไปเที่ยวหรือไม่” เวลาที่เราพูดเราจะพูดว่า “ไปเที่ยวไหม”คงจะเคยเห็นรูปเขียน “มั้ย” ที่สะกดด้วย มอ ม้า ไม้หันอากาศ ยอยักษ์ไม้โท นะคะ ผู้เขียนส่วนใหญ่คงต้องการให้เห็นเป็นคำที่แทนเสียงคำว่า “ไหม” หากจะเขียนด้วยมอ ม้า ไม้มลาย ไม้โท ก็อาจจะสื่อความหมายเป็น ไม้ เพราะในภาษาไทยเรานั้นถ้าเห็นคำที่สะกดด้วย สระไอ มอ ม้า ไม้โท จะออกเสียงว่า ไม้ (Maai) ออกเสียงเป็นสระเสียงยาว จึงทำให้คำที่ออกเสียง ไม้ (Mai) เขียนโดยใช้รูป มอ ม้า ไม้หันอากาศ ยอ ยักษ์ ไม้โท ซึ่งไม่ถูกต้องนะคะในภาษาไทยการเขียนคำที่ประสมด้วย สระอัย (ที่สะกดด้วย อ อ่าง ไม้หันอากาศ ยอ ยักษ์) ใช้เขียนคำที่มาจากคำภาษาบาลี สันสกฤต ที่เดิมออกเสียง 2 พยางค์ คือ อย (อะ- ยะ)เมื่อนำมาใช้กับคำไทยเราจะใช้ ย เป็นตัวสะกด เช่น คำว่า วินย (วิ-นะ-ยะ) เป็นภาษาบาลีสันสกฤต ในภาษาไทยใช้ วินัย การนำภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียนอีกลักษณะหนึ่งที่พบบ่อย คือ
ใช้ภาษาปากที่หรือภาษาที่พูดแบบไม่เป็นทางการเป็นภาษาเขียน เช่น ตีตั๋ว ดูหนัง
ล้วนเป็นภาษาพูด เมื่อจะนำมาใช้เป็นภาษาเขียนควรปรับภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียน
ตีตั๋ว ควรใช้ ซื้อบัตร
ดูหนัง ” ชมภาพยนตร์
ของเก๊ ” ของปลอม
เข้าท่า ” เหมาะสม
การใช้ภาษาเขียนเพื่อบันทึกเป็นหลักฐาน ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษนะคะนอกจากการนำภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียนแล้ว ในทางกลับกันก็ยังมีผู้ใช้ภาษาบางคนนำภาษาเขียนมาใช้ในภาษาพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นนักพูด หรือพิธีกรในงานต่าง ๆ ลักษณะ ที่พบบ่อยได้แก่
การพูดเป็นตัวอักษรย่อตามบท เช่นภาษาเขียน นสพ.รายวัน ภาษาพูดควรใช้ว่า หนังสือพิมพ์รายวัน
” ศ.ดร. ” ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์
” เวลา 06.30 น. ” หกนาฬิกาสามสิบนาที หรือแบบไม่เป็นทางการใช้ว่าหกโมงครึ่ง
โดยปกติแล้วคำย่อหรืออักษรย่อนำมาใช้ในภาษาเขียนเพื่อประหยัดเวลา และพื้นที่ในการเขียน เมื่อจะนำมาใช้พูด คำย่อต่าง ๆ ต้องพูดให้เต็มคำนะคะ ยกเว้นคำที่พูดเต็มคำแล้วยาวมากหรือเข้าใจยาก อนุโลมให้พูดแบบภาษาเขียนได้ค่ะ เช่นป.ป.ช. ภาษาพูดอาจใช้ว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ ปอ-ปอ-ชอ ก็ได้ เพราะ ป.ป.ช. เป็นคำย่อที่คนในสังคมรู้จักกันดีในบางครั้งที่เราเห็นรูปภาษาเขียน เราอย่าเพิ่งมั่นใจนะคะว่า การพูดหรือการออกเสียงจะเป็นเช่นเดียวกับรูปเขียนที่เห็น เช่น เนื้อร้องเพลงเพลงหนึ่ง มีอยู่ท่อนหนึ่งที่ว่า “ขี้ฮก เบบี้ขี้ฮกตะลาลา” หากท่านผู้ฟังไม่เคยฟังเพลงนี้ ก็คงจะร้องเพลงตามเนื้อร้องที่เห็น คือ “ขี้ฮก เบบี้ขี้ฮกตะลาลา” อันที่จริงคำว่า เบบี้ ที่อยู่ในเนื้อร้องเพลงนั้นมาจากคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ สะกดด้วย BABY ในที่นี้หมายถึง ที่รัก นั่นเองค่ะ เวลานักร้องนำมาร้องทำให้เสียงร้องกับรูปเขียนนั้นต่างกันออกไป จาก เบบี้ เป็น เบเบ๊ กลายเป็น “ขี้ฮก เบเบ๊ ขี้ฮกตาลาลา”